เกี่ยวกับสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย

กลุ่มผู้ก่อตั้งสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย (วปท.) จำนวน 5 ท่าน ประกอบด้วย :
demo10

  • คุณประกอบ เดชอุดม
  • คุณเบิกฟ้า เกตนุต
  • ดร.รชฎ กาญจนวณิชย์
  • อ.อรุณ ชัยเสรี
  • ดร.ประศาสน์ จันทราทิพย์

ได้มีการประชุมหลายครั้ง เพื่อจัดตั้งสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย จนในที่สุดได้จดทะเบียนเป็นสมาคมในวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2521 และมีการเลือก ดร.รชฎ เป็นนายกสมาคม วปท. คนแรก คุณประกอบ เป็นอุปนายก และ ดร.ประศาสน์ เป็นเลขาธิการ วปท.

สถานที่ตั้งสำนักงานครั้งแรก อยู่ที่สำนักงาน เลขที่ 11/1 ถนนสุขุมวิท (30) แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร

สถานที่ตั้งสำนักงานปัจจุบัน เลขที่ 1616/1 ชั้น 4 อาคารสภาวิศวกร ถนนลาดพร้าว แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310

วัตถุประสงค์ สมาคมตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้ คือ

  1. เป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรที่ปรึกษา
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
  3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดประโยชน์ทางวิชาชีพ รักษาสิทธิ และผลประโยชน์ของสมาชิก
  4. ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษา งานวิจัย และเผยแพร่งานวิชาชีพวิศวกรรม
  5. ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก
  6. กำกับดูแลการดำเนินงานของสมาชิกให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณ และมาตรฐานการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมของสมาคม
  7. ให้ความร่วมมือ คำปรึกษา และข้อมูลที่เกี่ยวกับการทำงานทางวิศวกรรมแก่รัฐ และองค์กรสาธารณะ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ 
  8. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

สมาชิกสมาคม วปท. มีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีคุณสมบัติของสมาชิกอย่างไร...? 

สมาชิก วปท. แบ่งออก 3 ประเภท แต่ละประเภท มีคุณสมบัติของสมาชิก ดังต่อไปนี้
ประเภทที่ 1  สมาชิกกิตติมศักดิ์
ประเภทที่ 2  สมาชิกสามัญ
ประเภทที่ 3  สมาชิกนิติบุคคล

ประเภทที่ 1

สมาชิกกิตติมศักดิ์ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(1) เป็นบุคคลที่คณะกรรมการอำนวยการ วปท. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้เชิญเป็นสมาชิก หรือ
(2) เป็นสมาชิกสามัญมาแล้วไม่น้อยกว่า 20 ปี และคณะกรรมการอำนวยการ วปท. มีมติเลื่อนให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์

ประเภทที่ 2

สมาชิกสามัญต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามดังต่อไปนี้
(1) เป็นผู้ได้รับในอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมจากสภาวิศวกร
(2) เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในบริษัทวิศวกรที่ปรึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี และผลงานจะต้องถึงขั้นมาตรฐานเป็นที่รับรองของคณะกรรการอำนวยการ วปท. หรือเป็น ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมในบริษัทวิศวกรที่ปรึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี แต่มีผลงานจะต้องขั้นมาตรฐานเป็นที่รับรองของคณะกรรมการอำนวยการ วปท.
(3)  ไม่เป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณอันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพตามที่กำหนดในข้อบังคับของ วปท. ไม่เป็นบุคคลที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้เป็นบุคคลล้มละลาย
(4) ไม่เป็นบุคคลวิกลวิกลจริตหรือฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ

ประเภทที่ 3

สมาชิกนิติบุคคล ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(1)  เป้นนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประเภทนิติบุคคลจากสภาวิศวกร
(2)  เป็นนิติบุคคลที่ดำเนินธุรกิจด้านวิศวกรที่ปรึกษาในประเทศไทย

สิทธิประโยชน์ของสมาชิกจากสมาคม วปท.

สมาชิกนิติบุคคล ได้รับประโยชน์การเป็นสมาชิกดังนี้

  • ได้รับจดหมายข่าวสารประจำเดือน ทางอีเมล์ วปท. และห้อง Line ของสมาชิกนิติบุคคล 
  • วารสารวิชาการปีละ 1 เล่ม
  • ซื้อหนังสือ วรสารวิชาการ สิ่งพิมพ์ของ วปท. ในราคาสมาชิก
  • ส่งพนักงานเข้าร่วมสัมมนา อบรม ฯลฯ ที่ วปท. จัดขึ้นในราคาสมาชิก
  • จัดตั้งกลุ่ม Line CEO Forum ระดมความคิดเห็น เสนอข้อคิดเห็น หรือเรียกร้องต่อคณะกรรมการอำนวยการ วปท. เกี่ยวกับความเสียหายอันพึงมี
  • มีสิทธิ์ในการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งคณะกรรมการอำนวยการ และมีสิทธิสมัครเป็นกรรมการนิติบุคคลของ วปท.
  • สมาชิกนิติบุคคล ที่อบรม สัมมนา ที่ วปท. จัดขึ้น จะได้คะแนน CPD โดยนำความรู้ไปเป็นคะแนนสะสม เพื่อใช้เลื่อนระดับสามัญ ระดับวุฒิวิศวกรของสภาวิศวกร
  • มีสิทธิ์อื่นๆ ตามระเบียบที่ วปท. จะกำหนดขึ้น

สมาชิกสามัญ ได้รับประโยชน์การเป็นสมาชิกดังนี้

  • ได้รับจดหมายข่าวสารประจำเดือน ทางอีเมล์ วปท. และห้อง Line ของสมาชิกสามัญ 
  • วารสารวิชาการปีละ 1 เล่ม
  • สมาชิกสามัญเข้าร่วมสัมมนา อบรม ฯลฯ ที่ วปท. จัดขึ้นในราคาสมาชิก
  • ซื้อหนังสือ วปท. วารสารวิชาการ สิ่งพิมพ์ของ วปท. ที่จัดขึ้น ในราคาสมาชิก
  • สมาชิกสามัญ ที่อบรม สัมมนา ที่ วปท. จัดขึ้น จะได้คะแนน CPD โดยนำหน่วยความรู้ไปเป็นคะแนนสะสม เพื่อใช้เลื่อนระดับสามัญ ระดับวุฒิวิศวกรของสภาวิศวกร
  • มีสิทธิอื่นๆ ตามระเบียบที่ วปท. จะกำหนดขึ้น

กิจกรรม หรือแผนงานของสมาคม วปท. เพื่อสมาชิก

ด้านวิชาการ

  • จัดสัมมนา-อบรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับสมาชิก และที่ไม่ใช่สมาชิก
  • ทำหน้าที่งานแสดงผลงานและเผยแพร่วิชาการ
  • จัดตั้งโครงการอบรมผู้นำวงการก่อสร้างรุ่นใหม่ - FIDIC Future Leaders (FFL)  โดยเปิดรับสมัครอบรมในทุกๆปี
  • จำหน่ายหนังสือมาตรฐานการปฎิบัติวิชาชีพ PMC และ CSC 
  • จำหน่ายสัญญา FIDIC ภาษาอังกฤษแปลไทยหน้าต่อหน้าเป็นลิขสิทธิ์ 
  • จัดทัศนศึกษาทางวิชาการในประเทศและต่างประเทศ
  • จัดอบรม สัมมนา วิชาการในประเทศ และต่างประเทศ
  • จัดอบรม สัมมนา วิชาการภายในองค์กรต่างๆ 
  • จัดทำ CEAT Journal – ปีละ 1 เล่ม

ด้านในประเทศ

  • ดูแลงานในประเทศที่เกี่ยวข้องกับสมาชิกด้านมาตรฐานการทำงาน การแก้ไขข้อพิพาท การป้องกันการเสี่ยงภัย สัญญา อัตราค่าจ้าง จรรยาบรรณ และจริยธรรม
  • ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานราชการ สมาคม สถาบันต่างๆ
  • ผลักดันการปรับแก้ระเบียบที่ไม่เป็นธรรมในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
  • สร้างความเข้มแข็งวิชาชีพโดยการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ
  • จัดระบบฐานข้อมูลวิชาชีพเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและส่วนร่วม

ด้านต่างประเทศ

  • สร้างโอกาสธุรกิจ และประสานงานกับองค์กรต่างๆ ในประเทศ และต่างประเทศ
  • ส่งเสริมธุรกิจวิศวกรที่ปรึกษาไปยังต่างประเทศ เพื่อสร้างโอกาสงาน สร้างเครือข่าย และยกระดับวิชาชีพให้เทียบเท่านานาชาติ
  • พัฒนามาตรฐานวิชาชีพสู่ระดับสากล
  • เป็นแหล่งข้อมูลธุรกิจต่างประเทศ

การประชุมใหญ่สามัญ

มีการประชุมใหญ่สามัญของสมาชิก วปท. ให้มีปีละหนึ่งครั้ง ภายในเดือนมีนาคม เพื่อให้คณะกรรมอำนวยการ วปท. ได้แถลงต่อที่ประชุม เพื่อให้สมาชิก วปท. ได้รับทราบดังนี้

(1) บัญชีงบการเงินของ วปท. ในรอบปีที่ผ่านไป
(2) กิจการในรอบปี ที่ดำเนินการผ่านไป
(3) นโยบายที่จะดำเนินงานต่อไปในปีต่อไป เพื่อให้สมาชิกได้ทราบ และสมาชิกมีสิทธที่จะซักถาม เสนอแนะแสดงความคิดเห็นในกิจการของ วปท. ได้ โดยการประชุมใหญ่สามัญทุกครั้ง นายก วปท. เป็นผู้เรียกประชุม

การประชุมใหญ่วิสามัญ
การประชุมใหญ่วิสามัญจะทำได้เมื่อสมาชิก วปท. รวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิก วปท. ลงชื่อเรียกร้องโดยห้ทำหนังสือถึงนายก วปท. เมื่อได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วให้ นายก วปท. เรียกประชุมใหญ่วิสามัญภายในเวลาสามสิบวัน

การแจ้งสมาชิก
เลขาธิการ วปท. จะต้องทำหนังสือแจ้งให้สมาชิก วปท. ให้มาร่วมประชุมใหญ่สามัญและวิสามัญอย่างน้อย 15 วัน ก่อนการประชุมใหญ่พร้อมทั้งแจ้งระเบียบวาระการประชุม

สมาคม วปท. เป็นสมาชิกของสมาพันธ์ หรือองค์กรระหว่างประเทศ

วปท. เป็นสมาชิกขององค์กรวิชาชีพระหว่างประเทศ ดังนี้

1. FACE = Federation of Asean Consulting Engineers 
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเครือข่ายวิศวกรที่ปรึกษาในกลุ่มประเทศอาเซียน

2. FIDIC =  International Federation of Consulting Engineers 
วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างเครือข่ายวิศวกรที่ปรึกษาในกลุ่มเอเชียแปซิฟิก และทั่วโลก

 

https://blogceta.zaragoza.unam.mx/wp-content/-/buntut77/ https://blogceta.zaragoza.unam.mx/wp-content/app/ depo 5000 scatter hitam sv388 Buntut77toto | Link Alternatif Login Buntut77 Resmi Menang Besar Terpecaya Bizz77game: Situs Link Login Alternatif Menang Besar Bizz77 Terpecaya Online bizz77 https://blogceta.zaragoza.unam.mx/wp-content/id-ID_scatter-hitam/ slot gacor bizz77 slot gacor togel online slot gacor