การให้บริการที่ปรึกษาวิชาชีพด้านวิศวกรรม ประกอบด้วยงานวิศวกรรมในสาขาต่างๆ ดังนี้
- สาขาวิศวกรรมโยธา
- สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่
- สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
- สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
- สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
- สาขาวิศวกรรมเคมี
- สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ประเภทของงานบริการที่ปรึกษาวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา จะแบ่งประเภทของงานตามที่ระบุในหมวดนี้ และในงานวิศวกรรมบางสาขาจะประกอบด้วยรายละเอียดของงานย่อยแขนงต่างๆที่เป็นงานวิศวกรรมพื้นฐาน ซึ่งหมายถึงงานที่เป็นส่วนประกอบปกติทั่วไปของโครงการ หรือหมายถึงกรอบของงานพื้นฐานของโครงการที่สามารถใช้มาตรฐานค่าบริการวิชาชีพในอัตราปกติ รวมทั้งงานวิศวกรรมพิเศษ ซึ่งจะหมายถึงงานที่เป็นส่วนประกอบเฉพาะหรือพิเศษสำหรับบางโครงการ ซึ่งควรพิจารณาใช้มาตรฐานค่าบริการวิชาชีพสูงกว่าอัตราปกติได้ ดังที่ระบุต่อไปนี้
1. สาขาวิศวกรรมโยธา
ประเภทของงานวิศวกรรมโยธาพื้นฐาน ประกอบด้วย
- งานวิศวกรรมโครงสร้างพื้นฐาน หมายถึง อาคารสูงไม่เกิน 60 ชั้น อาคารที่มีหลังคาช่วงยาวไม่เกิน 100 เมตร อาคารที่มีชั้นใต้ดินลึกไม่เกิน 10 เมตร สะพานและทางยกระดับที่มีความยาวช่วงเสาไม่เกิน 60 เมตร และการทดสอบวัสดุในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น
- งานวิศวกรรมธรณีเทคนิคพื้นฐาน หมายถึง ระบบฐานรากของอาคารและสะพาน ระบบป้องกันดินพังชั่วคราว ระบบกำแพงกันดินถาวร ระบบเสถียรภาพเชิงลาด และการสำรวจทางปฐพีกลศาสตร์ เป็นต้น
- งานวิศวกรรมขนส่งพื้นฐาน หมายถึง ถนน ทางหลวงพิเศษ ระบบขนส่งมวลชน การวางผังระบบจราจร การศึกษาผลกระทบด้านการจราจร และการออกแบบสัญญาณไฟจราจรและทางแยก เป็นต้น
- งานวิศวกรรมแหล่งน้ำและชลศาสตร์พื้นฐาน หมายถึง การพัฒนาแหล่งน้ำ การวิเคราะห์โครงข่ายน้ำ ระบบกักเก็บน้ำ ระบบแจกจ่ายน้ำ การศึกษาโครงสร้างทางชลศาสตร์ เขื่อน ระบบระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วม การป้องกันการกัดเซาะและตกตะกอน และการศึกษาคุณภาพน้ำ เป็นต้น
- วิศวกรรมสำรวจ หมายถึง การสำรวจเพื่อทำแผนที่ภูมิประเทศ การสำรวจเพื่อทำรังวัด และกำหนดขอบเขตที่ดิน การสำรวจเพื่อการก่อสร้าง เป็นต้น
ประเภทของงานวิศวกรรมโยธาพิเศษ ประกอบด้วย
- งานวิศวกรรมโครงสร้างพิเศษ หมายถึง อาคารสูงเกิน 60 ชั้น อาคารที่มีหลังคาช่วงยาวเกิน 100 เมตร อาคารที่มีชั้นใต้ดินลึกเกิน 10 เมตร สะพานและทางยกระดับที่มีความยาวช่วงเสาเกิน 60 เมตร งานสำรวจและออกแบบแก้ไขโครงสร้างของอาคาร เป็นต้น
- งานวิศวกรรมธรณีเทคนิคพิเศษ หมายถึง อุโมงค์ การเสริมฐานราก การปรับปรุงคุณภาพดิน การตรวจวัดทางด้านธรณีเทคนิค เป็นต้น
- งานวิศวกรรมขนส่งพิเศษ หมายถึง สนามบิน การขนส่ง ระบบราง และท่าเรือน้ำลึก เป็นต้น
- งานวิศวกรรมแหล่งน้ำและชลศาสตร์พิเศษ หมายถึง เขื่อนกักเก็บน้ำที่มีความสูงกว่า 30 เมตร และเก็บกักน้ำมากกว่า 10 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือสูงกว่า 20 เมตร และเก็บกักน้ำมากกว่า 100 ล้านลูกบาศก์เมตร
- งานวิศวกรรมการก่อสร้างและการจัดการพิเศษ หมายถึง งานบริการทางวิชาชีพวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างและการบริหารงานก่อสร้างโครงการหรืองานวิศวกรรมพิเศษทุกประเภทที่ระบุไว้ในข้อ 3.1 นี้
2. สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่
ประเภทของงานวิศวกรรมเหมืองแร่ ประกอบด้วย
- งานเหมืองแร่ หมายถึง การทำเหมืองแร่ เหมืองใต้ดิน การเจาะอุโมงค์ในเหมือง งานวิศวกรรมที่มีการใช้วัตถุระเบิด การโม่ บด หรือย่อยแร่และหิน การแยกวัสดุต่างๆ โดยใช้กรรมวิธีทางการแต่งแร่ และการประเมินผลและวิเคราะห์มูลค่าของแหล่งแร่ทั้งในแง่เศรษฐศาตร์ เป็นต้น
- งานโลหะการ หมายถึง การถลุงแร่เหล็กหรือการผลิตเหล็กกล้า การถลุงแร่หรือการสกัดโลหะ โลหะเจือ หรือสารประกอบโลหะออกจากแร่ รวมทั้งการทำให้โลหะบริสุทธ์ การหลอม การหล่อ การแปรรูป การปรับปรุงคุณสมบัติด้วยความร้อน และการตกแต่งผิวหรือการชุบเคลือบโลหะ เป็นต้น
3. สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
ประเภทของงานวิศวกรรมเครื่องกลพื้นฐาน ประกอบด้วย
- ระบบปรับอากาศ หมายถึง ระบบควบคุมสภาวะอากาศภายในอาคารเพื่อควบคุมระดับอุณหภูมิและความชื้น เป็นต้น
- ระบบระบายอากาศ หมายถึง ระบบการควบคุมการถ่ายเทอากาศภายในอาคารด้วยวิธีธรรมชาติหรือวิธีกล
- ระบบควบคุมควันไฟ หมายถึง ระบบการควบคุมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของควันไฟภายในอาคาร ทั้งวิธีการเติมอากาศ การระบายควันไฟและการอัดอากาศเข้าสู่พื้นที่ป้องกัน
- ระบบควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร หมายถึง ระบบการควบคุมปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ การแพร่ระบาดของเชื้อโรค และปริมาณก๊าซเสียในอากาศภายในอาคาร
- ระบบประปา หมายถึง ระบบการจ่ายน้ำประปาของอาคาร
- ระบบน้ำเสีย หมายถึง ระบบการระบายน้ำทิ้งและน้ำโสโครกของอาคาร
- ระบบระบายน้ำฝน หมายถึง ระบบระบายน้ำฝนของอาคาร และบริเวณโดยรอบอาคาร
- ระบบบำบัดน้ำเสีย หมายถึง ระบบการบำบัดน้ำเสียของอาคาร (Domestic Waste Water Treatment system) ให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามที่กฏหมายกำหนด
- ระบบผลิตน้ำอ่อน หมายถึง ระบบบำบัดน้ำให้เป็นน้ำอ่อนซึ่งมีค่าความเป็นตะกรันต่ำลง (Soft Water)
- ระบบน้ำร้อน หมายถึง ระบบทำน้ำร้อนและจ่ายน้ำร้อนของอาคาร
- ระบบน้ำดื่ม หมายถึง ระบบผลิตและจ่ายน้ำดื่มเพื่อการบริโภค
- ระบบก๊าซหุงต้ม (LPG) หมายถึง ระบบการเก็บและจ่ายก๊าซหุงต้ม
- ระบบดับเพลิง หมายถึง ระบบการสำรองน้ำเพื่อการดับเพลิง ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ระบบสายส่งน้ำดับเพลิง และระบบหัวกระจายน้ำอัตโนมัติ
- ระบบลิฟต์และบันไดเลื่อน หมายถึง ระบบของลิฟต์โดยสาร ลิฟต์บริการ ลิฟต์สินค้า ลิฟต์ รถยนต์ ลิฟต์ดับเพลิง ทางเดินเลื่อน และบันไดเลื่อน
ประเภทของงานวิศวกรรมเครื่องกลพิเศษ ประกอบด้วย
- ระบบอากาศอัด หมายถึง ระบบการจ่ายอากาศอัด (Compressed Air)
- ระบบสูญญากาศ หมายถึง ระบบการดูดสูญญากาศ (Vacuum Air)
- ระบบน้ำปราศจากแร่ หมายถึง ระบบการผลิตและจ่ายน้ำปราศจากแร่ (Demineralized Water)
- ระบบไอน้ำ หมายถึง ระบบการผลิตและจ่ายไอน้ำ
- ระบบห้องสะอาด หมายถึง ระบบปรับอากาศที่ควบคุมสภาวะอากาศภายในอาคารให้มีระดับฝุ่นละอองในอากาศต่ำตามที่กำหนด
- ระบบบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม หมายถึง ระบบการบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามที่กฎหมายกำหนด
- ระบบบำบัดอากาศเสีย หมายถึง ระบบการบำบัดอากาศเสียให้ได้มาตรฐานอากาศที่ระบายทิ้งตามที่กฎหมายกำหนด
- ระบบดับเพลิงพิเศษ หมายถึง ระบบดับเพลิงด้วยสารเคมี ก๊าซ โฟม หรือฝอยน้ำ
- ระบบขนส่งทางท่อลม หมายถึง ระบบการลำเลียงและขนส่งวัสดุภาในท่อด้วยระบบลมอัดหรือสูญญญากาศ
- ระบบผลิตพลังงานร่วม (Combined Heat & Power) หมายถึง ระบบการผลิตไฟฟ้าร่วมกับความร้อนและ/หรือความเย็น
- ระบบทำความเย็นด้วยน้ำ หมายถึง ระบบการผลิตและจ่ายน้ำเย็น (Cooling Water) ในอุตสาหกรรม
- ระบบผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และปั๊มความร้อน (Heat Pump) หมายถึง ระบบผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานทดแทน และอุปกรณ์ทำน้ำร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง
- ระบบผลิตน้ำประปา หมายถึง ระบบการผลิตน้ำประปาจากน้ำดิบจากแหล่งน้ำ และจากน้ำทะเล
- ระบบกักเก็บความเย็น หมายถึง ระบบการกักเก็บความเย็นด้วยน้ำแข็ง น้ำเย็น และการเปลี่ยนสถานะของสสาร
- ระบบลดความชื้น หมายถึง ระบบเครื่องการลดความชื้น (Dehumidifier) ให้มีระดับความชื้นต่ำกว่าระดับปกติโดยทั่วไป
- ระบบเพิ่มความชื้น หมายถึง ระบบเครื่องการเพิ่มความชื้น (Humidifier) ให้มีระดับความชื้นสูงกว่าระดับปกติโดยทั่วไป
- ระบบกรองอากาศ หมายถึง ระบบเครื่องกรองอากาศ (Air purifier) เพื่อกรองอากาศให้มีความสะอาดเป็นพิเศษ
- ระบบปรับอากาศสำหรับห้องปลอดเชื้อ หมายถึง ระบบปรับอากาศที่ออกแบบเป็นพิเศษในการควบคุมปริมาณเชื้อโรคในอากาศและการแพร่
- ระบาดของเชื้อโรค
- ระบบทำความเย็นด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ หมายถึง ระบบผลิตความเย็นสำหรับการปรับอากาศด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Air-conditioning)
4. สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า
ประเภทของงานวิศวกรรมไฟฟ้าพื้นฐาน ประกอบด้วย
- ระบบไฟฟ้าแรงสูง หมายถึง ระบบรับและจ่ายไฟฟ้าที่ระดับแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 11 kV ขึ้นไป
- ระบบไฟฟ้าแรงปานกลาง หมายถึง ระบบรับและจ่ายไฟฟ้าที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 3.3 kV และ 6.6 kV
- ระบบจ่ายไฟฟ้าแรงต่ำ หมายถึง ระบบรับและจ่ายไฟฟ้าที่ระดับแรงดันไฟฟ้า 380/220 V
- ระบบหม้อแปลงไฟฟ้า หมายถึง ระบบการแปลงแรงดันไฟฟ้า
- ระบบไฟฟ้าสำรอง หมายถึง ระบบการผลิตและจ่ายไฟฟ้าสำรองจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง
- ระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน หมายถึง ระบบสำรองและจ่ายไฟฟ้าฉุกเฉินจากแบตเตอรี่
- ระบบป้ายทางออกฉุกเฉิน หมายถึง ระบบป้ายแสดงทางออกฉุกเฉินที่กำหนดในมาตรฐาน
- ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง หมายถึง ระบบการจ่ายแสงสว่างจากโคมไฟฟ้า
- ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน หมายถึง ระบบการจ่ายแสงสว่างจากดคมไฟฟ้าที่รับไฟฟ้าจากระบบไฟฟ้าสำรองหรือระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน
- ระบบสายดิน หมายถึง ระบบการนำไฟฟ้าจากอุปกรณ์ไฟฟ้าลงดิน
- ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หมายถึง ระบบตรวจจับเพลิงไหม้อัตโนมัติ ระบบควบคุมการป้องกันอัคคีภัย และระบบแจ้งเหตุอัคคีภัย
- ระบบเสียง หมายถึง ระบบลำโพงเสียงสำหรับพื้นที่โดยทั่วไป
- ระบบสัญญาณวิทยุ โทรทัศน์ หมายถึง ระบบรับและส่งสัญญาณวิทยุ โทรทัศน์
- ระบบโทรศัพท์ หมายถึง ระบบรับและส่งสัญญาณโทรศัพท์
- ระบบล่อฟ้า หมายถึง ระบบล่อฟ้าและนำกระแสลงดินเพื่อป้องกันความเสียหายกับตัวอาคาร
ประเภทของงานวิศวกรรมไฟฟ้าพิเศษ ประกอบด้วย
- ระบบควบคุมอาคารอัตโนมัติ (Building Automation system-BAS) หมายถึง ระบบการควบคุมการทำงานของระบบเครื่องกลและไฟฟ้าของอาคารโดยอัตโนมัติ
- ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด หมายถึง ระบบการรักษาความปลอดภัยด้วยกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (Surveillance system)
- ระบบควบคุมการเข้า-ออก หมายถึง ระบบตรวจสอบ และ/หรือบันทึกการเข้า ออก (Access Control) ผ่านประตูหรือทางเข้า ออกพื้นที่
- ระบบแสงพิเศษในอาคาร หมายถึง ระบบแสงสว่างภายในอาคารที่เน้นความสวยงาม (Interior Lighting)ระบบแสง เสียงพิเศษ หมายถึง
- ระบบแสง เสียงสำหรับการประชุม สัมมนา และการแสดง (Audio Visual system)
- ระบบแสงพิเศษนอกอาคาร หมายถึง ระบบแสงส่องอาคารหรือบริเวณโดยรอบอาคารที่ออกแบบเพื่อความสวยงาม (Architectural Exterior Lighting)
- ระบบไฟฟ้าสะอาด (Clean Power Supply) หมายถึง ระบบจ่ายไฟฟ้าที่มีระดับคลื่นแรงดันไฟฟ้าคงที่และปราสจากความถี่เสียงรบกวน
- ระบบไฟฟ้าต่อเนื่อง (Uninterruptible Power Supply-UPS) หมายถึง ระบบการจ่ายไฟฟฟ้าที่ต่อเนื่องได้ทันทีเมื่อระบบการจ่ายไฟฟ้าปกติสะดุดลง
- สถานีไฟฟ้าแรงสูง หมายถึง สถานีไฟฟ้าแรงสูงที่มีระดับแรงดันไฟฟ้า 69 kV และ 115 kV
- ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง ระบบศูนย์คอมพิวเตอร์ ระบบสายสัญญาณสำหรับคอมพิวเตอร์
- ระบบควบคุมอาคารจอดรถ หมายถึง ระบบบริหารจัดการอาคารจอดรถ (Car Park management system)
- ระบบควบคุมอุตสาหกรรม หมายถึง ระบบการควบคุมในอุตสาหกรรม (Process and Instrument control systeml)
- ระบบการผลิตไฟฟ้าพิเศษ หมายถึง ระบบการผลิตไฟฟ้านอกระบบฟ้าสำรอง
- ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ หมายถึง ระบบการผลิตและจ่ายไฟฟ้าด้วยเซลแสงอาทิตย์
5. สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
ประเภทของงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประกอบด้วย
- สิ่งก่อสร้าง และเครื่องจักรที่ใช้ควบคุมมลพิษ บำบัดของเสีย กำจัดสารพิษ กำจัดวัตถุอันตราย และการกำจัดสิ่งใดๆ ของโรงงาน
- ระบบระบายอากาศ ระบบแสงสว่างและระบบอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมมลพิษ การบำบัดของเสีย การกำจัดสารพิษ การกำจัดวัตถุอันตรายและการกำจัดสิ่งใดๆ ของโรงงาน
- กระบวนการผลิตที่มีปฏิกิริยาเคมี ใช้สารไวไฟ สารอันตราย ใช้การกลั่นลำดับส่วน หรือการกระทำภายในอุปกรณ์ที่มีความดันสูงกว่าบรรยากาศของโรงงาน
6. สาขาวิศวกรรมเคมี
ประเภทของงานวิศวกรรมเคมี ประกอบด้วย
- กระบวนการผลิตของโรงงาน หรือสถานประกอบการ ที่อาศัยปฏิกิริยาเคมี เคมีฟิสิกส์ ชีวเคมี หรือเคมีไฟฟ้า เพื่อให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ตามกำหนด ที่ใช้เงินลงทุนตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไปโดยไม่รวมค่าที่ดิน หรือที่ใช้กำลังตั้งแต่ 500 กิโลวัตต์ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
- กระบวนการผลิตของโรงงาน หรือสถานประกอบการ ที่ทำให้วัตถุดิบมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพ หรือเปลี่ยนสถานะ เพื่อให้ได้เป็นผลิตภัณฑ์ตามกำหนด ที่ใช้เงินลงทุนตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไป โดยไม่รวมค่าที่ดิน หรือที่ใช้กำลังตั้งแต่ 500 กิโลวัตต์ขึ้นไปหรือเทียบเท่า ทั้งนี้เฉพาะที่ประกอบด้วยกระบวนการผลิตของหน่วยการผลิตตาม 3.6.9
- กระบวนการผลิตของโรงงาน หรือสถานประกอบการ ที่มีวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์เป็นวัตถุผงหรือวัตถุเม็ดซึ่งอาจก่อให้เกิดการระเบิดหรือเกินไฟฟ้าสถิตได้ ที่ใช้เงินลงทุนตั้งแต่หนึ่งร้อยล้านบาทขึ้นไปโดยไม่รวมค่าที่ดิน หรือที่ใช้กำลังตั้งแต่ 500 กิโลวัตต์ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
- กระบวนการผลิตของโรงงาน หรือสถานประกอบการ ที่ใช้สารเคมีที่เป็นวัตถุอันตราย เพื่อเป็นสารผสมหรือเป็นสารช่วยในการผลิต
- กระบวนการผลิตของโรงงาน หรือสถานประกอบการ ที่อาศัยปฏิกิริยาเคมีภายใต้ความดันตั้งแต่ 3 บรรยากาศขึ้นไป หรือต่ำกว่าความดันบรรยากาศ 1 บรรยากาศ
- กระบวนการจัดการหรือบำบัดของเสียจากกระบวนการผลิตของโรงงาน หรือสถานประกอบการ ที่ใช้สารเคมี ตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี ตัวเร่งปฏิกิริยาชีวเคมี ตัวเร่งปกิกิริยาชีวภาพ หรือหน่วยการผลิตที่ช่วยในการบำบัดของเสีย ที่ใช้เงินลงทุนตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป โดยไม่รวมค่าที่ดินหรือที่ใช้กำลังในกระบวนการบำบัดของเสียตั้งแต่ 20 กิโลวัตต์ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
- ระบบการเก็บหรือขนถ่ายที่กระทำภายในโรงงานหรือเพื่อส่งออกนอกโรงงานซึ่งวัตถุอันตราย สารเคมี สารพิษ วัตถุผงหรือวัตถุเม็ด อันอาจก่อให้เกิดการระเบิดหรือเกิดไฟฟ้าสถิต ที่มีขนาดตั้งแต่ 20 เมตริกตันขึ้นไป
- กระบวนการผลิตทุกขนาดที่ใช้ หรือก่อให้เกิดวัตถุอันตราย สารเคมี สารพิษ หรือสารไวไฟ
- กระบวนการผลิตที่อาศัยปฏิกิริยาเคมี เคมีฟิสิกส์ ชีวเคมี หรือเคมีไฟฟ้าของหน่วยการผลิต ดังนี้
- หอกลั่น หอดูดซับ หอดูดซึม อุปกรณ์สกัดสาร ถังตกตะกอน หรือเครื่องตกผลึก ที่ใช้กำลังตั้งแต่ 7.4 กิโลวัตต์หรือเทียบเท่าขึ้นไป
- อุปกรณ์แยกสารแบบอื่นๆ เช่น เครื่องแยกสารโดยใช้เยื่อ หอแลกเปลี่ยนไอออน เครื่องกรองแบบอัดแน่น ที่ใช้กำลังตั้งแต่ 7.4 กิโลวัตต์ขึ้นไปหรือเทียบเท่า
- อุปกรณ์แยกขนาดแบบอื่นๆ เช่น ถุงกรอง ไซโคลน เครื่องกำจัดฝุ่นละอองด้วยไฟฟ้าสถิต ที่ใช้กำลังในกระบวนการผลิตตั้งแต่ 7.4 กิโลวัตต์หรือเทียบเท่าขึ้นไป
- เครื่องต้มระเหย หรือเตาเผา กระบวนการผลิต ที่ใช้กำลังตั้งแต่ 10 กิโลวัตต์หรือเทียบเท่าขึ้นไป
- เครื่องปฏิกรณ์ทุกขนาด
7. สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ประเภทของงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน ประกอบด้วย
- ระบบประปา หมายถึง ระบบการจ่ายน้ำประปาของอาคาร สำหรับอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสามัญหรือวุมิวิศวกรเครื่องกล
- ระบบน้ำเสีย หมายถึง ระบบการระบายน้ำทิ้งและน้ำโสโครกของอาคาร สำหรับอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสามัญหรือวุฒิวิศวกรเครื่องกล
- ระบบน้ำฝน หมายถึง ระบบระบายน้ำฝนของอาคารและบริเวณโดยรอบอาคาร สำหรับอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสามัญหรือวุฒิวิศวกรเครื่องกล
- ระบบบำบัดน้ำเสีย หมายถึง ระบบการบำบัดน้ำเสีย (Domestic Waste Water Treatment system) ให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามที่กฎหมายกำหนด สำหรับอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสามัญหรือวุฒิวิศวกรเครื่องกล
- ระบบผลิตน้ำอ่อน หมายถึง ระบบบำบัดน้ำให้เป็นน้ำอ่อนซึ่งมีค่าความเป็นตะกรันต่ำลง (Soft Water)
- ระบบน้ำร้อน หมายถึง ระบบทำน้ำร้อนและจ่ายน้ำร้อนของอาคาร สำหรับอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่ให้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสามัญหรือวุฒิวิศวกรเครื่องกล
- ระบบน้ำดื่ม หมายถึง ระบบผลิตและจ่ายน้ำดื่มเพื่อการบริโภค
- ระบบก๊าซหุงต้ม หมายถึง ระบบการเก้บและจ่ายก๊าซหุงต้มภายใต้การกำกับดูแลของสามัญหรือวุฒิวิศวกรเครื่องกล
- ระบบดับเพลิง หมายถึง ระบบการสำรองน้ำเพิ่อการดับเพลิง ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง ระบบสายส่งน้ำดับเพลิง และระบบหัวกระจายน้ำอัตโนมัติ ภายใต้การกำกับดูแลของสามัญหรือวุฒิวิศวกรเครื่องกล
ประเภทของงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมพิเศษ ประกอบด้วย
- ระบบน้ำเสียชุมชน หมายถึง การวางผังสำหรับระบบการบำบัดน้ำเสียชุมชนให้อยู่ในระดับมาตรบานที่กฎหมายกำหนด
- ระบบประปาชุมชน หมายถึง การวางผังสำหรับระบบประปาชุมชน
- ระบบการนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ หมายถึง การวางผังสำหรับระบบการบำบัดและนำน้ำทิ้งกลับมาใช้
- ระบบการพัฒนาแหล่งน้ำ หมายถึง การวางแผนจัดหาแหล่งน้ำเพื่อนำมาใช้ประโยชน์
- ระบบการควบคุมมลพิษทางอากาศ หมายถึง การวางผังและการวางแผนของการควบคุมมลพิษทางอากาศให้อยู่ในระดับมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
- ระบบการจัดการมลภาวะทางเสียง หมายถึง การวางแผนเพื่อจัดการ ดูแลให้มลภาวะทางเสียงให้อยู่ในระดับมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
- ระบบการฟื้นฟูสภาพที่ดิน หมายถึง การวางแผนฟื้นฟูสภาพดินและน้ำให้อยู่ในระดับมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด
- ระบบขยะมูลฝอย ในสถานที่ต่อไปนี้ หมายถึง การวางแผนจัดการดูแลขยะ ซึ่งรวมถึงการจัดเก็บ การจัดประเภท และการขนย้าย
- ระบบกำจัดขยะ หมายถึง ระบบกำจัดขยะด้วยวิธีเผา หรือกลบฝัง
- ระบบการจัดการกากอุตสาหกรรม หมายถึง การวางผังสำหรับการจัดการดูแลกากอุตสาหกรรม
- ระบบอากาศอัด หมายถึง ระบบการจ่ายอากาศอัด (Compressed Air) ภายใต้การกำกับดูแลของสามัญหรือวุฒิวิศวกรเครื่องกล
- ระบบสูญญากาศ หมายถึง ระบบการดูดสูญญากาศ (Vacuum Air) ภายใต้การกำกับดูแลของสามัญหรือวุฒิวิศวกรเครื่องกล
- ระบบน้ำปราศจากแร่ หมายถึง ระบบการผลิตและจ่ายน้ำปราศจากแร่ (Demineralized Water)
- ระบบไอน้ำ หมายถึง ระบบการผลิตและจ่ายไอน้ำ ภายใต้การกำกับดูแลของสามัญหรือวุฒิวิศวกรเครื่องกล
- ระบบบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรม หมายถึง ระบบการบำบัดน้ำเสียจากอุตสาหกรรมให้ได้มาตรฐานน้ำทิ้งตามที่กฎหมายกำหนด ภายใต้การกำกับดูแลของสามัญหรือวุฒิวิศวกรเครื่องกล
- ระบบดับเพลิงพิเศษ หมายถึง ระบบดับเพลิงด้วยสารเคมี ก๊าซ โฟม หรือฝอยน้ำ ภายใต้การกำกับดูแลของสามัญหรือวุฒิวิศวกรเครื่องกล
- ระบบผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ปั๊มความร้อน (Heat Pump) และพลังงานทดแทนภายใต้การกำกับดูแลของสามัญหรือวุฒิวิศวกรเครื่องกล
- ระบบผลิตน้ำประปา หมายถึง ระบบการผลิตน้ำประปาจากน้ำดิบจากแหล่งน้ำ และจากน้ำทะเล ภายใต้การกำกับดูแลของสามัญหรือวุฒิวิศวกรเครื่องกล
- ระบบบำบัดน้ำสระว่ายน้ำ หมายถึง ระบบบำบัดและควบคุมคุณภาพน้ำในสระว่ายน้ำ
- ระบบน้ำพุ น้ำตก หมายถึง ระบบน้ำพุ น้ำตกเพื่อความสวยงาม
- ระบบรดน้ำต้นไม้ หมายถึง ระบบหัวกระจายน้ำ หรือระบบน้ำหยดเพื่อรดน้ำต้นไม้และสนามหญ้า